ReadyPlanet.com
dot dot
bulletกิจกรรมการแสดงวันปีใหม่ 2565
bulletประกวดเรียงความ




แนะนำผู้อำนวยการโรงเรียน

 

                                  แนะนำผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา

                                                  

                                                       

                         อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา

                     

     
 ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี  วิทยาศาสตร์บัณฑิต  ม.เกษตรศาสตร์
ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
ปริญญาโท  พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต  (รัฐประศาสนศาสตร์)
วิชาเอกการบริหารงานบุคคล  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปริญญาโทศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการศึกษา มหาวิทยาเซนต์จอห์น GPA. 3.97


 

ตำแหน่งการทำงานปัจจุบัน


ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา


ผู้รับใบอนุญาตสถานรับเลี้ยงเด็กถนอมพิศเบบี้โฮม


กรรมการพิจารณามาตรฐานความรู้ด้านดนตรีบำบัดเพื่อจัดทำตำราวิชาการ และคู่มือการให้บริการการแพทย์ทางเลือกในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ   จากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุข 

กรรมการสมาคมสหพันธ์โรงเรียนเอกชนแห่งประเทศไทย

 webmaster  www.tpvschool.com และ www.ariyasound.com     

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์อริยะ  สุพรรณเภษัช  ผลงานด้านดนตรีบำบัด การค้นคว้าเกี่ยวกับพระสมเด็จและพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ได้ที่เวปไซต์ www.ariyasound.com

 

 

                             

 

ผลงานทางวิชาการ
 เป็นผู้บุกเบิกงานด้านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพสมองด้วยพลังคลื่นเสียงจากดนตรีในประเทศไทย โดยผลิตตำราออกมาจำนวน 3 เล่ม ได้แก่
       ผลงานทางวิชาการด้านการประยุกต์ใช้พลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมอง  
                  
         
       1. คัมภีร์อภิวัฒน์สมอง  พ.ศ. 2542
      2. พัฒนา E.Q.  ด้วยเสียงเพลง พ.ศ. 2543
       3.พัฒนา I.Q. E.Q. M.Q. และสมาธิด้วยพลังคลื่นเสียง พ.ศ. 2545
       4. ดนตรีสวรรค์เพื่อการพัฒนาจักระและสมาธิระดับสูง พ.ศ. 
             2544 (เอกสารโรเนียว )
       5. ดนตรีพลังธาตุเพื่อการฟื้นฟูศักยภาพกายและจิต พ.ศ. 2544
             (เอกสารโรเนียว )
       6. คีตะโยคะ ศาสตร์แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และฟื้นฟู
             สุขภาพด้วยพลังคลื่นเสียง   พ.ศ. 2552 (เอกสารโรเนียว )
 
 
 
ประวัติการเป็นวิทยากร
เผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนภายนอก

********************************************

 

อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช 

ด้รับเกียรติจากอาจารย์นายแพทย์ สุริยเดว ทรีปาตี

ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

มหาวิทยาลัยมหิดล 

เชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง การพัฒนา I.Q. E.Q.  ของเด็กด้วยเสียงเพลง

ในวันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.00-16.30 น. 

ณ ห้องประชุมเจริญสามัคคี อาคารปัญญาวัฒนา 

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

      สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2533 รัฐบาล ไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลัก ของปฏิญญา เพื่อเด็กไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติ สำหรับพัฒนาเด็กและ ครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับอนุมัติหลักการ ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2537

      มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเสนอเป็นแกนจัดตั้ง ซึ่งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้อนุมัติโครงการ การจัดตั้งสถาบันแห่ง ชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี เป็นผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง ซึ่งมีสำนักงาน ชั่วคราวตั้งอยู่ที่สำนักงาน โครงการวิจัย ชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม และอาคารสถาบันก่อสร้าง เสร็จเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

      สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันมี นายแพทย์สุริยเดว  ทรีปาตี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2553 ถึงปัจจุบันมี  รองศาสตราจารย์อัจฉราพรรณ  จรัสวัฒน์ เป็นรองผู้อำนวยการด้านบริหาร  อาจารย์อธิวัฒน์  เจี่ยวิวรรธน์กุล เป็นรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา  และอาจารย์ ดร.วิมลทิพย์  มุสิกพันธ์ เป็นรองผู้อำนวยการด้านวิชาการ

 

 
       

                                             หน่วยฝึกอบรม  งานวิจัยและบริการวิชาการ                 

            สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว


ใบสมัครอบรม

 

1.  ชื่อ นามสกุล  (นาย/นาง/..)……………………………………….…….…อายุ…………..ปี  ชื่อเล่น…………………………………...…

2.  ตำแหน่งงาน………................................………ระดับ/วิทยฐานะ...........................................................................................

3.  วุฒิ การศึกษาขั้นสุดท้าย ......................................................................... จาก......................................................................

4.  สถานที่ทำงาน / ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้…………………………….…………………….เลขที่……………..ซอย………………………..……..      ถนน……………ตำบล/แขวง………………อำเภอ/เขต……………………..     จังหวัด……………………..รหัสไปรษณีย์……………….…โทร……………………..……โทรสาร (FAX) …………………………………..

5.  โครงการที่ท่านต้องการสมัคร

      

       £  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา IQ EQ ของเด็กด้วยเสียงเพลง ในวันพุธที่  8  กุมภาพันธ์  2555 เวลา 13.00-16.30 น.  ค่าลงทะเบียนท่านละ 200 บาท    จำนวน ..................... ท่าน   

 

6.  ชำระเงินโดย  £  โอนเงินเข้าธนาคารไทยพาณิชย์  สาขามหาวิทยาลัยมหิดล  บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยมหิดล เงินค่าลงทะเบียนการประชุมวิชาการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เลขที่บัญชี  333-225089-0   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ...........................  บาท  ออกใบเสร็จในนาม ชื่อ ......................................................

 

*************************************************

 

อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

ร่วมบรรยายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ทางจิตนานาชาติ 

เรื่อง พลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาสมาธิ

  วันที่ 12 ธันวาคม  2554  ณ ห้างพันธ์ทิพย์งามวงศ์วาน ชั้น 8

 

*************************************************

 

  อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  ได้รับเชิญจาก

ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยรังสิต 

ร่วมการเสวนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เชิงปฏิบัติการ 

หัวข้อ "Mind Development through Music"

ในวันพฤหัสบดีที่ 28  เมษายน  2554 เวลา 13.30-16.30 น.

ณ ห้องAuditorium อาคารรัตนคุณากร  มหาวิทยาลัยรังสิต 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพบรรยากาศสวย ๆ ในงานเสวนา

 

 
 
 

 

ภาพบรรยากาศ  การสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการนิตยสาร Real Parenting ซึ่งเป็นนิตยสารในเครืออมรินทร์ที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่และเด็กที่ขายดีที่สุด  ได้ขอสัมภาษณ์อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา ณ บริษัทอมรินทร์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 ในเรื่องแนวทางการประยุกต์ใช้พลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมอง และสมาธิในเด็ก  เพื่อนำลงในนิตยสารReal Parenting ในฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553 

 

 

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางจิตนานาชาติ  ได้จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ทางจิต  ครั้งที่ 18"พลังจิตฝ่าวิกฤตโลก" 
ในวันที่ 10- 11-12-13 ธันวาคม 2553  
ณ ห้างพันทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น 8 
โดยงานที่ขึ้นมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ส่งเสริมการฝึกจิต เพื่อ สุขภาพ คุณภาพชีวิต และ คุณธรรมที่ดี
2. รวบรวมความรู้และปรากฏการณ์ทางจิตให้เป็นระบบ
3. วิเคราะห์ วิจัย ความรู้และปรากฏการณ์ทางจิต
4. รวบรวมนักวิชาการและนักปฏิบัติการทางจิตให้เป็นปึกแผ่น
5. แสดงการพิสูจน์ ทดลอง หลักการ และวิธีการฝึกจิตต่างๆ ให้เป็นที่ปรากฏชัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ทางจิต"
6. พัฒนาระบบการเรียน การสอน และการเผยแพร่ความรู้ทางจิตให้กว้างขวาง รวมทั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุน การฝึกจิต และสุขภาพจิต
7. กระตุ้นผู้นำ นักวิชาการ และมนุษยชาติ ให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของ "การพัฒนาทางจิต" เพื่อประโยชน์สุขในด้าน สุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และ คุณธรรม คู่ไปกับ "การพัฒนาเศรษฐกิจ" แก่ประชาชน
8. กระตุ้นให้มีการจัดตั้ง "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางจิต" และ "คณะวิทยาศาสตร์ทางจิต ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก" เพื่อเป็นการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่ "วิชาการทางจิต" อย่างเป็นทางการ
9. เสริมสร้างการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน ด้วยจิตที่มีคุณภาพ และ คุณธรรม
 
 
อาจารย์ อริยะ สุพรรณเภษัช  ได้รับเชิญจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางจิต บรรยายพิเศษเรื่อง สติปัฏฐาน4 กับการอภิวัฒน์สมอง ในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์ทางจิต  ครั้งที่ 18"พลังจิตฝ่าวิกฤตโลก" ในวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม  2553 เวลา 18.00-19.00 น. เวทีบรรยาย 2   ณ ห้างพันทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น 8     ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับฟังการบรรยายได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายได้ตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้
สำหรับ ท่านผู้สนใจด้านศาสนา การพัฒนาสมาธิ พัฒนาคุณธรรม ศาสตร์การทำนาย และการแพทย์ทางเลือก ฯลฯ จากวิทยากรผู้ชำนาญการต่าง ตลอด 4 วันของการจัดงานนี้สามารถดูรายละเอียดได้  โดยคลิ๊กข้อความด้านล่างนี้
 

 

 

 

****************************************

 

ฃฃฃฃฃฃ
 
1.วิทยากรพิเศษในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร นักวิชาการศึกษา
    รุ่นที่ 30-31  กระทรวงมหาดไทย
 
                                                  
 
 
บรรยายหัวข้อ  “ เทคนิคพัฒนาศักยภาพสมองให้เต็มประสิทธิภาพ ”
  ณ โรงแรมชาลีน่า รามคำแหง กรุงเทพฯ ในวันที่ 14 ม.ค.53 รุ่นที่ 30 และ รุ่นที่ 31
 ในวันที่ 15 ก.พ. 53  
 
2. โครงการแบ่งปันทางวิชาการระดับปฐมวัย ครั้งที่ 3   วันที่ 10 ตุลาคม 2552 
     ณ. โรงเรียนถนอมพิศวิทยา 
อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
บรรยายหัวข้อ  การประยุกต์ใช้ชุดดนตรีอภิวัฒน์ปัญญากับการพัฒนาสมองและสมาธิสำหรับเด็กปฐมวัย 
 
3.โรงเรียนถนอมพิศวิทยา นำโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
จัดอบรมโครงการแบ่งปันทางวิชาการระดับปฐมวัย   ครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อ
วันที่ 19 มกราคม 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ
ผู้บริหารในด้านการเป็นวิทยากรในระดับกลุ่มโรงเรียน พัฒนาความรู้
ให้กับครูและสร้างความสัมพันธ์อันดีร่วมกันในระหว่างกลุ่มโรงเรียน
ที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยมีผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนเอกชน
ระดับปฐมวัยเข้าร่วมการอบรม ดังนี้
     1. โรงเรียนอนุบาลบ้านครู         2. โรงเรียนอนุบาลจิตต์นัฐดา
     3. ถนอมพิศเบบี้โฮม                 4. โรงเรียนอนุบาลศรีวรางค์
     5. โรงเรียนอนุบาลเฉลิมขวัญ    6. โรงเรียนอนุบาลเยี่ยมนุช
     7.  โรงเรียนอนุบาลสังสิทธิ        8. โรงเรียนอนุบาลวรวรรณา
 
    9. โรงเรียนอนุบาลช้างเผือก      10. โรงเรียนอนุบาลกรสุภา
    11. โรงเรียนถนอมพิศวิทยา    
 
อาจารย์ อริยะ สุพรรณเภษัช ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา บรรยายเรื่อง 
      “ การพัฒนาพลังสติปัญญาเด็กไทยด้วยพลังคลื่นเสียง ”
                                                                                                                                            
                    
4.  สัมภาษณ์พิเศษ รายการHealth Station   เรื่อง คีตะโยคะ 
     สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี 13 ก.พ. 2547
 
             
 
              
 
              
 
 
 
 
 
 
5.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง พลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพกายและจิต  
        ชมรมครูอาวุโสสตรีวิทยา 2 โรงเรียนสตรีวิทยา2  วันที่15 กันยายน   2550
 
 
                      
 
 
                          
 
 
 
                     
 
                      
 
6.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง คีตะโยคะ กองการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุข
 
                               
 
                                     
 
 
  
 
7.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง คีตะโยคะ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ทางจิตนานาชาติ
                   ครั้งที่ 10   วันที่ 10-14   ธันวาคม 2546  
           ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตจุลจักรพงศ์  
 
 
                          
 
 
                                  
 
 
 
                                       
 
 
 
8.  วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีกับการพัฒนาสมาธิเด็กพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ 
           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   13 ก.พ. 2547
                                            
 
                                  
 
 
                                     
 
9.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพสมองเด็กปฐมวัย
            คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น   13 ก.พ. 2547
  
10.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีกับการพัฒนาวินัยและความสุขทางจิตใจ 
        โครงการอบรมวินัยอุตสาหกรรมให้กับแรงงานไทย สำนักจัดหางานจังหวัดตราด  
        ณ โรงแรมเหลาหยาอินรีสอร์ท    จ.ตราด วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม   2547
 
11.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพสมองเด็กปฐมวัย 
             งานถนอมพิศนิทรรศการวันที่ 5 กันยายน 2546
 
                                   
 
12.        วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีเพื่อการพัฒนาจิตวิญญาณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์
             ทางจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8   วันที่ 10-14   ธันวาคม 2546   ณ รามสแควร์ ไฮ-เอ็ด-เซนเตอร์ 
 
13.     สัมภาษณ์พิเศษ เรื่อง ดนตรีมีประโยชน์มากกว่าทีคุณคิด รายการเช้าวันนี้ 
            วันที่ 17 มิถุนายน 2545 สถานีโทรทัศน์ช่อง 5
 
14.     วิทยากรพิเศษพร้อมจัดนิทรรศการแสดงผลงานการวิจัย สำหรับผลงานวิจัยยอดเยี่ยม
           สำหรับครูโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ   
   เรื่อง กิจกรรมอภิวัฒน์ปัญญากับการพัฒนาสติปัญญาเด็กปฐมวัย   งานเวทีวิชาการ สช.
   โรงแรมเอสดีอเวนิว วันที่   13-14 กันยายน 2545
 
 
                                        
 
 
                                
 
 
 
15.     วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีสวรรค์เพื่อการพัฒนาจักระและสมาธิระดับสูง
        งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ทางจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 7-10 ธันวาคม 2545
         ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
16.  วิทยากรพิเศษ เรื่อง ดนตรีเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมอง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์
        ทางจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 8-10 ธันวาคม 2544 ณ วิทยาลัยรัชต์ภาคย์
 

สรุปความสามารถด้านอื่น ๆ ของท่านอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยาผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้าน  ท่านสามารถศึกษาความรู้ด้านต่าง ๆ ที่ท่านได้ศึกษาค้นคว้ามาหลายสิบปี   ตามสิ่งที่สนใจได้  ซึ่งความรู้แต่ละด้านนั้นนับว่าท่านเป็นกูรูในด้านนั้น ๆ อย่างแท้จริง จากเวปไซต์ www.ariyasound.com

ด้านที่ 1   ด้านการบริหารสถานศึกษา  ท่านเป็นผู้มีพื้นฐานทางการบริหารดี เนื่องจากจบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการบริหารงานบุคคลจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA)  และมีประสบการณ์มากมายหลายปีกับการทำงานเป็นอาจารย์ประจำสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยศรีปทุมและมหาวิทยาลัยคริสเตียนนครปฐม ทั้งยังเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนในบัณฑิตวิทยาลัยด้วยจนท้ายสุดมาจบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการบริหารการศึกษา เพิ่มเติม จากการที่ท่านชอบศึกษาอะไรอย่างลุ่มลึก  ดังนั้นท่านจะมีวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแบบใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ   โดยเฉพาะการนำแนวคิดด้าน Brain Based Learning และ Multiple Intelligence มาประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปฏิรูปกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  เพื่อยกระดับนักเรียนให้พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพสูงสุด   และได้นำแนวคิดดังกล่าวไปผสานกับงานวิจัยด้านพลังคลื่นเสียง จนได้ตั้งทฤษฎีที่เป็นผลจากการค้นคว้าที่ท่านได้ค้นคว้าวิจัยมามากกว่า 13 ปี โดยได้ตั้งชื่อแนวคิดใหม่นี้ว่า  Music Brain Based Learning   นอกจากนี้ท่านรับเชิญได้เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเรื่องพลังคลื่นเสียงกับการพัฒนาศักยภาพสมองและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนมากมายหลายแห่ง  เช่น กระทรวงสาธารณสุข  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร  บริษัทปูนซิเมนต์ไทย  เป็นต้น   

 

ด้านที่ 2  Music Brain Based Learning  เป็นการค้นคว้าเรื่อง การประยุกต์ใช้พลังคลื่นเสียงจากดนตรีกลุ่มต่าง ๆ ที่ผ่านการวิจัยคุณภาพแล้ว  นำมาเพื่อพัฒนาศักยภาพสมองและการเรียนรู้ ภายใต้ฐานความรู้ด้านสมอง  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งท่านนับว่าเป็นคนบุกเบิกการค้นคว้าในเรื่องการนำพลังคลื่นเสียงมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาศักยภาพสมองในประเทศไทย

 

 อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ เช้าวันนี้สถานีโทรทัศน์ช่องห้า เรื่องการประยุกต์ใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมองและสมาธิของเด็กระดับปฐมวัย

                                     

                        

 ท่านได้แต่งตำราเกี่ยวกับทางด้านการนำพลังคลื่นเสียงมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพสมอง ไว้จำนวนสามเล่ม ซึ่งเป็นตำราสำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในด้านนี้ต้องอ่าน และเป็นตำราทางด้านนี้สามเล่มแรกในประเทศไทยปัจจุบันตำราทั้งสามเล่มนี้ได้จำหน่ายหมดแล้ว อาจารย์จะไม่จัดพิมพ์ขึ้นอีก  แต่จะเอาตำราทั้งหมดบรรจุไว้ในเวปไซต์นี้เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต่อไป

 ท่านได้จัดตั้งศูนย์อภิวัฒน์ปัญญาขึ้นมาภายใต้ระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย โดยจัดกิจกรรมพิเศษที่เรียกว่ากิจกรรมอภิวัฒน์ปัญญา เพื่อใช้เป็นห้องวิจัยในเพื่อทำการพัฒนาศักยภาพสมองและสมาธิให้กับนักเรียน  โดยระดับปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล1-2 จะจัดไว้ ณ ห้องของนักเรียน  ส่วนระดับชั้นอนุบาล3 - ประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถรับบริการได้ที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยปฏิบัติก่อนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 นาที  สำหรับผู้ที่มีความต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ สามารถมาใช้บริการได้ที่ ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาการ  ซึ่งระบบที่ใช้สื่อมัลติมีเดียผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาจากระบบปฏิบัติการเดิมซึ่งรฟังผ่านสื่อเครื่องเสียง  เป็นระบบปฏิบัติคอมพิวเตอร์อัตรา 1ต่อ 1 สามารถให้ศักยภาพระบบแสงสีเสียงเต็มรูปแบบ ท่านอาจารย์เรียกระบบที่ใช้นี้ว่า Computor Television Therapy  (CTT)

 

                                 

                                 

  สำหรับการฝึกการพัฒนาศักยภาพสมองในระดับสูง หรือผู้ที่มีปัญหาด้านศักยภาพสมองและสมาธิ จะใช้ร่วมกับอุปกรณ์แว่นพลังแสงอภิวัฒน์ปัญญา  เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ

  ซึ่งท่านมีผลงานอันยอดเยี่ยม  ได้รับรางวัล 1 ใน 10 ผลงานวิจัยยอดเยี่ยม สำหรับครูโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ  ในงานวันวิชาการ สช.  เรื่อง กิจกรรมอภิวัฒน์ปัญญากับการพัฒนาสติปัญญาของเด็กระดับปฐมวัย  จัดในวันที่ 13-14 กันยายน 2545  พร้อมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยพร้อมจัดนิทรรศการแสดงผลงานการวิจัยด้วย 

                         

                  

                   

                       

                  

 

                 

 

                  

 ด้านที่ 3  การค้นคว้าเรื่อง  การนำพลังคลื่นเสียงมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับศักยภาพมนุษย์ระดับสูง  ที่ได้ให้ชื่อเฉพาะว่า  คีตะโยคะ(คี-ตะ-โย-คะ)  เป็นการประยุกต์ใช้ดนตรีระดับสูงสุดเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ภายใต้หลักการของการพัฒนาจักระเป็นศูนย์พลังภายในร่างกายและมนุษย์   ใน 7 จักระหลัก และอีก 14 จักระที่ซ่อนเร้น ซึ่งทางโยคะศาสตร์กล่าวว่าการพัฒนาจักระเหล่านี้ที่วางแนวตลอดแห่งที่ตั้งของสมองและไขสันหลัง  เป็นการช่วยยกระดับศักยภาพสมองและสมาธิในระดับสูง

 

                   

 

 

 

 

ด้านที่ 4   การค้นคว้าเรื่อง  การศึกษาเนื้อหามวลสารพระสมเด็จ  ที่จัดสร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังซึ่งได้จัดทำชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อมวลสารพระสมเด็จซึ่งจะศึกษาเนื้อหามวลสารพระสมเด็จในรูปแบบของการศึกษาเชิงเปรียบเทียบจากพระสมเด็จแท้และพระตระกูลสมเด็จจำนวนมาก  ที่เรียกว่าหลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ  ทำการอบรมภายใต้ความรับผิดชอบของ  ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จฯ ที่ท่านได้ตั้งขึ้นที่โรงเรียนถนอมพิศวิทยา   

                            

ด้านที่ 5 หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ   เป็นหลักสูตรที่ศึกษาวิจัยเนื้อหามวลสารพระสมเด็จในรูปแบบของการศึกษาจากของจริงเชิงเปรียบเทียบเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย  ผู้ศึกษาจะได้ศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากเนื้อหามวลสารพระสมเด็จและพระตระกูลสมเด็จจำนวนมาก

       

                                   

หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ
การศึกษาพระสมเด็จด้วยการพิจารณาเนื้อหาและธรรมชาติความเก่าเชิงเปรียบเทียบ
ผ่านเศษแตกหักของพระสมเด็จทั้งสามวัดและพระตระกูลสมเด็จขึ้น
 
                เนื่องจากปัจจุบันพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทั้งสามวัด ได้แก่วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย มีค่าความนิยมสูงและเป็นที่สุดยอดแห่งการแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องและบุคคลทั่วไป เป็นอย่างมาก  ซึ่งการพิจารณาพระสมเด็จ จะศึกษาจากหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงหนึ่ง เนื้อหามวลสารหนึ่ง และธรรมชาติความเก่าหนึ่ง ซึ่งการที่จะให้เกิดความกระจ่างในการศึกษาพระสมเด็จให้พอวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการศึกษาข้อมูล ทั้งยังต้องมีโอกาสได้ผ่านตาพระสมเด็จแท้ ๆ เป็นจำนวนมาก   ซึ่งในปัจจุบันมีความยากลำบากอย่างยิ่งที่จะหาตัวอย่างพระสมเด็จแท้ ๆ สักองค์มาได้พิจารณาเนื่องจากค่านิยมของพระสมเด็จทั้งสามวัดมีราคาสูงมากถึงหลักล้านบาท ทำให้เกิดอุปสรรคยากลำบากต่อการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จเป็นอย่างมาก
ซึ่งการศึกษาพิจารณาพระสมเด็จที่กล่าวมา จะศึกษาจากหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงหนึ่ง เนื้อหามวลสารหนึ่ง และธรรมชาติความเก่าหนึ่ง      ซึ่งการศึกษาในเรื่องของพิมพ์ทรงของพระสมเด็จที่มีมากมายหลายพิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงก็มีหลายบล๊อก    ซึ่งอาจศึกษาได้จากหนังสือตำราต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก  
เนื่องจากการปลอมพระสมเด็จในด้านพิมพ์ทรงปัจจุบันใช้เทคนิคการปลอมอันทันสมัยเรื่องการถอดพิมพ์ให้เหมือนเกือบ 100 %  แม้แต่เหรียญเก่า ๆ ของคณาจารย์ที่มีตำหนิในพิมพ์ทรงมากมายเพื่อการพิจารณา ก็มีการทำปลอมด้วยบล็อกคอมพิวเตอร์ ก็ยังทำได้เหมือนจนผู้ชำนาญการแยกของแท้กับของปลอมโดยพิจารณาจากตำหนิในพิมพ์ทรงก็ดูไม่ค่อยออก เพราะฉะนั้นในพิมพ์ทรงพระสมเด็จที่ไม่ได้มีตำหนิซับซ้อนเมื่อเทียบกับเหรียญคณาจารย์ ก็ทำให้ไม่ยากต่อการปลอมแปลงพิมพ์ทรงแต่อย่างใด  ทำได้ง่ายมาก
ซึ่งท่านปรมาจารย์แห่งการศึกษาพระสมเด็จ ตรียัมปวายได้ให้ข้อเตือนใจนักนิยมพระสมเด็จว่า จุดชี้ขาดของพระสมเด็จนั้นวัดกันที่เนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่า เป็นประเด็นสำคัญเหนือกว่าพิมพ์ทรง    ดังนั้นการศึกษาในเรื่องเนื้อหาและธรรมชาติความเก่าของพระสมเด็จเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษา   เพราะว่าถ้าแม่นเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าก็จะมีพื้นฐานที่ดีต่อการพิจารณาพระสมเด็จเป็นอย่างมาก 
แต่การพิจารณาในเรื่องเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าของพระสมเด็จ มีความยากลำบากต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องรวบรวมตัวอย่างของเนื้อหาของพระสมเด็จทั้งสามวัดรวมทั้งพระตระกูลสมเด็จทุกตระกูลเพื่อเป็นพื้นฐานของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบด้านเนื้อหา   โดยพิจารณาคำนวณอายุของเนื้อผงจากการประเมินทางสายตา เพื่อค้นหา ความแตกต่างระหว่างพระสมเด็จแท้กับพระสมเด็จปลอม และ พระสมเด็จแท้กับพระตระกูลสมเด็จที่เนื้อจัด 
 ดังนั้นเพื่อให้เกิดความกระจ่างในการพิจารณาพระสมเด็จในด้านเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่า ทำให้อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนถนอมพิศวิทยา ประธานชมรมอนุรักษ์มรดกไทย   ที่เคยมีประสบการณ์จากการที่เคยศึกษาพระกรุเก่าโบราณเนื้อดิน-เนื้อชิน ขณะเมื่อเริ่มศึกษาจะชอบซื้อพระกรุที่สภาพสึก ๆ หรือเศษหักของพระกรุแท้ ๆ มาศึกษา ซึ่งจะทำให้มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าของพระได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้สามารถวินิจฉัยถึงสภาพความเก่าและประเมินอายุของพระนั้น ๆ ได้ว่าเป็นพระกรุของเมืองไหน ยุคใด สมัยใด จึงได้นำหลักการดังกล่าวมาใช้เมื่อต้องการศึกษาพระสมเด็จ 
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมาจึงได้พยายามรวบรวมพระตระกูลสมเด็จทุกสภาพเอาไว้จำนวนมากเพื่อนำมาศึกษาโดยเช่าหาพระสมเด็จแท้ ๆ ที่แตกหักและพระตระกูลสมเด็จทุกสภาพจากนิตยสารพระเครื่องต่าง ๆ และจากสนามพระทั่วไป   เพื่อนำมาพิจารณาวิจัยในเชิงเปรียบเทียบอายุความเก่า  แต่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549 พบว่าสนามพระทั่วไปและพระที่ออกให้บูชาตามนิตยสารพระเครื่องที่เคยมีพระเนื้อผงตระกูลสมเด็จพิมพ์ต่าง ๆ ก็ไม่มีพระสมเด็จยุคเก่าให้บูชา ทำให้เกิดความยากลำบากต่อการศึกษามากขึ้น
ซึ่งหลังจากศึกษามาหลายปี   วันหนึ่งได้พบความลับบางประการในเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จ ทำให้ได้ข้อสรุปชี้ขาดถึงการพิจารณาเนื้อหามวลสารและธรรมชาติของเก่าของพระสมเด็จได้ในระดับหนึ่ง ทำให้รู้ว่าพระสมเด็จที่เคยคิดว่าแท้โดยดูจากเนื้อหาโดยรวมนั้น จริง ๆ แล้วมวลสารของสมเด็จบางตัวจะเป็นตัวชี้ขาดซึ่งความเก่าไม่เก่าของพระได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งถึงแม้ว่าเนื้อหาจะดูหนึกนุ่มน่าดูเพียงใดก็ตาม ถ้ามวลสารที่เห็นมันผิดจากที่กำหนดแล้ว พระองค์นั้นจะต้องเป็นพระสร้างภายหลังและไม่ถึงยุคสมเด็จทั้งสิ้น  
            เนื่องจากการที่อาจารย์อริยะได้สะสมพระสมเด็จของสามวัดหลักและพระตระกูลสมเด็จแทบทุกวัดในสภาพพระสึกและเศษหักต่าง ๆที่ขาดความสวยงามแต่มวลสารจัดดูง่ายในเนื้อหาที่เรียกหากันว่าพระสมเด็จเนื้อครู    ไว้เป็นจำนวนมากกว่าสิบกล่องใหญ่ ที่ใช้เวลารวบรวมมามากกว่าสามปี    ตอนแรกาคิดว่าพระสมเด็จเหล่านั้นเมื่อได้ศึกษาผ่านไปแล้วก็คิดจะขายออกไปราคาถูก ๆ เพื่อเอาทุนคืน  
        แต่อาจารย์อริยะ เห็นว่าปัจจุบันมีผู้ที่นิยมพระสมเด็จเป็นจำนวนมากต้องประสบความยากลำบากในการศึกษาพระสมเด็จด้านการพิจารณาเนื้อหาและธรรมชาติความเก่าเนื่องจากขาดตัวอย่างพระสมเด็จเนื้อครูเพื่อที่จะนำมาศึกษา  ดังนั้น   การศึกษาเชิงเปรียบเทียบผ่านเศษหักของพระสมเด็จทั้งสามวัดและพระกูลสมเด็จ   อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่พอช่วยเหลือให้นักนิยมพระสมเด็จให้มีสายตาที่พอจะสามารถวินิจฉัยและประเมินถึงสภาพความเก่าของพระสมเด็จได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าจึงได้เปิดหลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ เพื่อศึกษาพระสมเด็จด้วยการพิจารณาเนื้อมวลสารและธรรมชาติความเก่าเชิงเปรียบเทียบผ่านเศษแตกหักของพระสมเด็จทั้งสามวัดและพระตระกูลสมเด็จขึ้น 
สำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาพระสมเด็จในแนวทางดังกล่าวกับ อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช    โดยผู้สนใจในการศึกษาอาจจะศึกษาพระสมเด็จเนื้อครูทุกองค์ผ่านทางเวปไซต์ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่บนเวปไซต์ของโรงเรียนถนอมพิศวิทยาได้ตามสะดวกโดยไม่คิดมูลค่า หรือถ้าต้องการศึกษาพิจารณาส่องดูเนื้อหามวลสารจากองค์ จริง ก็สามารถติดต่อเพื่อฝึกอบรมในหลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ ในการควบคุมของ ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย โดยติดต่อกับอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช โดยตรง
****************************************************************************
หลักสูตรที่เปิดการฝึกอบรม
 
หลักสูตรระดับพื้นฐาน
1. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 1 
เนื้อหาหลักสูตร : ศึกษาพื้นฐานการพิจารณามวลสารพระสมเด็จและพระตระกูลพระสมเด็จเนื้อครูยุคต่าง ๆ
 2. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 2 
เนื้อหาหลักสูตร :การพิจารณามวลสารพระสมเด็จ และ พระตระกูลสมเด็จที่เกี่ยวข้อง (โซนเนื้อสีน้ำตาล) (เฉพาะผู้ผ่านหลักสูตร  1 เท่านั้น)
3. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 3 
เนื้อหาหลักสูตร :การพิจารณามวลสารพระสมเด็จและพระตระกูลสมเด็จที่เกี่ยวข้อง  (โซนเนื้อสีเหลือง)
4. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 4 
เนื้อหาหลักสูตร :   การพิจารณามวลสารพระสมเด็จ และ พระตระกูลสมเด็จที่เกี่ยวข้อง (โซนเนื้อสีขาว)   (เฉพาะผู้ผ่านหลักสูตร 1 เท่านั้น)
 
หลักสูตรระดับAdvance
5. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 5 
เนื้อหาหลักสูตร : การพิจารณาศึกษาสภาพธรรมชาติต่าง ๆ ทางด้านหลังของพระสมเด็จ
 6. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 7 
เนื้อหาหลักสูตร :การพิจารณาศึกษาเนื้อในพระพระสมเด็จและพระตระกูลสมเด็จที่เกี่ยวข้อง จากตัวอย่างชิ้นส่วนพระสมเด็จและพระตระกูลสมเด็จที่แตกหัก
7. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 7 
เนื้อหาหลักสูตร :การพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบพิมพ์ทรงพระสมเด็จสภาพเดิมแท้  กับพระสมเด็จและพระตระกูลสมเด็จที่ผ่านการแกะ การเซาะ และการกรอ
8. หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จระดับ 8 
เนื้อหาหลักสูตร :   การพิจารณาศึกษาพระสมเด็จความอายุพระและสภาพการจัดสร้างของพระสมเด็จโดยใช้เคล็ดลับด้านประสาทสัมผัส
 ************************************************************************************
  
สิ่งที่ท่านจะได้รับเมื่อเรียนจบหลักสูตรทุกระดับ
 
1. ท่านสามารถรู้ได้ว่าพระสมเด็จที่ท่านพิจารณาอยู่นั้นมีมวลสารของพระสมเด็จหรือพระตระกูลปะปนอยู่หรือไม่ 
 
2. ท่านสามารถบอกได้ว่ามวลสารสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดดำ เม็ดแดง เม็ดขาวที่อยู่ภายในองค์พระสมเด็จ มีความเก่าทันยุคพระสมเด็จหรือไม่  ทำให้แยกพระสมเด็จแท้ออกจากพระสมเด็จเทียมที่ลงทุนใช้เนื้อมวลสารเก่าทำ
 
3. ท่านจะมีความสันทัดกับการพิจารณาเนื้อพระสมเด็จในสามโซนหลัก  คือ โซนเนื้อสีน้ำตาลที่มีเม็ดขาวเป็นพระเอก โซนเนื้อสีขาวที่มีเม็ดสีแดงเป็นพระเอก  และโซนเนื้อสีเหลืองที่มีเม็ดดำ เม็ดแดงและเม็ดขาว เป็นพระเอก                                                                                                                                       
 
4. ท่านจะสามารถรู้จักสภาพธรรมชาติของพระสมเด็จ โดยศึกษาจากริ้วรอยธรรมชาติและริ้วรอยที่เกิดจากกระบวนการสร้างพระสมเด็จ สภาพธรรมชาติของเนื้อในของพระสมเด็จที่แท้ กับพระตระกูลสมเด็จและพระเก๊ว่าแตกต่างกันอย่างไร  และสภาพผิวพระที่เป็นธรรมชาติกับสภาพผิว   
พระที่ผ่านกระบวนการแกะ รอ เซาะ                                                                                             
 
5.ท่านจะสามารถใช้สายตาพิจารณาว่าพระสมเด็จองค์ที่ท่านส่องอยู่นั้น เป็นพิมพ์แท้ดั้งเดิมหรือถูกถอดพิมพ์จำลองออกมา    รู้ความเก่าแก่ตามสภาพธรรมชาติของพระสมเด็จได้เพียงใช้มือสัมผัสลูบองค์พระ  และศึกษาแร่ธาตุสำคัญที่มีเฉพาะในองค์พระสมเด็จเท่านั้น ถ้าท่านทราบเคล็ดลับในเรื่องนี้  อาจจะใช้การพิจารณานี้เพียงอย่างเดียวก็อาจชี้ขาดพระสมเด็จได้แล้ว               
 
6. สุดท้ายท่านก็จะมีความสามารถพิจารณาพระสมเด็จได้ด้วยตนเองด้วยความมั่นใจ  เนื่องจากการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว เป็นการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์  เชิงโบราณคดี ถ้าพระสมเด็จองค์ที่ท่านพิจารณามีความเก่าแก่แท้จริงของพระสมเด็จ ดังนั้นมวลสารสำคัญ เนื้อนอกในและสภาพธรรมชาติ ต้องถึงพร้อมด้วยความเก่าแก่ไปด้วย  ถ้าผิดจากนี้ก็คงไม่ใช่พระสมเด็จที่แท้จริง กล่าวได้ว่าพระสมเด็จ มิใช่ว่าใครเป็นคนประกาสิต  แต่ตัวท่านจะสามารถประกาสิตได้ด้วยตนเองโดยไม่ลังเล
 
 
 
************************************************************************************

ด้านที่ 6  การค้นคว้าเรื่อง  แร่ธาตุกับการพัฒนาสมาธิ  เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุสำคัญในโลก เช่น กลุ่มแร่Quartz   สีต่าง ๆ กลุ่มแร่เหล็กชนิดต่าง ๆ  ที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับพลังสมาธิทั้งระดับต้นและระดับสูง

                  

 

 

 

                                 

 

                                

                         

ภาพบรรยากาศ  การสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการนิตยสาร Real Parenting ซึ่งเป็นนิตยสาร
ในเครืออมรินทร์ที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่และเด็กที่ขายดีที่สุด  ได้ขอสัมภาษณ์อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช 
ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา ณ บริษัทอมรินทร์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 ในเรื่องแนวทางการประยุกต์ใช้พลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมองและสมาธิในเด็ก  เพื่อนำลงในนิตยสารReal Parenting ในฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553

 

 

 

 

      







โรงเรียนถนอมพิศวิทยา 1808 ถนนลาดพร้าว 62 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กุรุงเทพฯ10310 โทร. 0-2514-1819 โทรสาร 0-2539-4969
โรงเรียนถนอมพิศวิทยา 1808 ระหว่างซอยลาดพร้าว 62 - 64 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กุรุงเทพฯ10310
โทร. 0-2514-1819 , 0-2539-4968 โทรสาร 0-2539-4969
E-mail : ariyasound@thaimail.com